ประวัติโรงเรียน
|
ข้อมูลสถานศึกษา
โรงเรียนพยุห์วิทยา ตั้งอยู่เลขที่ 56 หมู่ที่ 3 ตำบลพยุห์ อำเภอพยุห์ จังหวัดศรีสะเกษ รหัสไปรษณีย์ 33230 โทรศัพท์045-607136 โทรสาร 045-607136
โรงเรียนพยุห์วิทยา ตั้งอยู่ที่ตำบลพยุห์ อำเภอพยุห์ จังหวัดศรีสะเกษ ได้ถือกำเนิดขึ้นด้วยความต้องการของประชาชนในเขตตำบลพยุห์ และตำบลใกล้เคียง ที่ต้องการให้มีโรงเรียนมัธยมศึกษาเกิดขึ้นเพื่อบุตรหลานไม่ต้องเดินทางไปศึกษาต่อในระยะทางไกลในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2531 นายบุญชง วีสมหมาย วุฒิสมาชิก (ในขณะนั้น) นายชูเกียรติ ลิขสิทธิ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนศรีสะเกษวิทยาลัย(ในขณะนั้น) ร่วมกับสภาตำบลพยุห์ปรึกษาหารือแล้วมอบหมายให้ นายสถิตย์ ชนะชัย ผู้ช่วยผู้อำนวยการโรงเรียนศรีสะเกษวิทยาลัย (ในขณะนั้น) เป็นผู้ประสานงานโดย นายบุญชง วีสมหมาย เป็นผู้ให้การช่วยเหลือและสนับสนุนการก่อสร้างปลายปี พ.ศ. 2532 ประกาศให้โรงเรียนศรีสะเกษวิทยาลัยจัดตั้งโรงเรียนสาขาขึ้นที่ตำบลพยุห์โดยใช้อาคารเรียนของโรงเรียนชุมชนบ้านพยุห์เป็นที่เรียนชั่วคราว โดยในปีแรกเปิดสอนจำนวน 2 ห้องเรียน จำนวนนักเรียน 85 คน ในการจัดการเรียนการสอนมีครูอาจารย์จากโรงเรียนศรีสะเกษวิทยาลัยมาปฏิบัติหน้าที่เป็นประจำทุกวัน
ในปีการศึกษา 2533 กระทรวงศึกษาธิการมีประกาศตั้งให้เป็นโรงเรียนพยุห์วิทยาตามประกาศลงวันที่ 15 มีนาคม 2533โดยมอบหมายให้ นายทองสูรย์ ฉลวยศรี ผู้อำนวยการโรงเรียนศรีสะเกษวิทยาลัย (ในขณะนั้น) รักษาการในตำแหน่งครูใหญ่โรงเรียนพยุห์วิทยา โรงเรียนเปิดทำการสอนแบบสหศึกษา ในปีการศึกษา 2533 รับนักเรียนได้ 96 คน จำนวน 2 ห้องเรียน รวมเป็น 4 ห้องเรียน มีนักเรียน 181 คน ต่อมา กรมสามัญศึกษา แต่งตั้งให้ นายสุรพล ขันเงิน มาดำรงตำแหน่ง ครูใหญ่ ตั้งแต่วันที่ 24 กรกฎาคม 2533 สำหรับการจัดการเรียนการสอนโรงเรียนศรีสะเกษวิทยาลัย ส่งครูอาจารย์มาสอนจนสิ้นภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2533
ในปีการศึกษา2534โรงเรียนได้ย้ายมาตั้งอยู่บริเวณสี่แยกถนนสายศรีสะเกษ - กันทรลักษ์ตัดกับถนนสายขุนหาญ-บ้านคล้อ(อ.กันทรารมย์) มีเนื้อที่ประมาณ 45 ไร่ ปัจจุบันเปิดการเรียนการสอนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 มีนักเรียนทั้งสิ้น 452 คน ครู 33 คน พนักงานธุรการ 1 คน นักการภารโรง 3 คน ยาม 1 คนโดยมี ดร.ประพัฒน์ ดอกไม้ ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียน
|
ภาพการก่อสร้างอาคารชั่วคราวเพิ่มเติม เนื่องจากอาคารชั่วคราวที่ได้รับจัดสรร ไม่เพียงพอกับจำนวนนักเรียนที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
|
 |
เนื่องจากกรมสามัญศึกษา อนุมัติให้ดำเนินการก่อสร้างอาคารเรียนชั่วคราวหลังแรกในปีการศึกษา 2534 เพียง 3 ห้อง เป็นห้องเรียน 2 ห้อง ห้องพักครู 1 ห้อง แต่จำนวนนักเรัยนที่เพิ่มขึ้นเป็น 4 ห้อง ทางโรงเรียนจึงได้ขอความอนุเคราะห์ชาวบ้านในละแวกใกล้เคียง มาช่วยก่อก่อสร้างอาคารเรียนชั่วคราวเพิ่มเติมอีก 2 ห้อง ในภาพมีคุณครููร่นแรกๆ ร่วมกันก่อสร้าง ในภาพนี้มี ครูบุญแก้ว กรไกร ครูประพัฒน์ ดอกไม้ ครูพรเพ็ญ ดอกไม้ ครูไพรวัลย์ ทองลือ ครูธงชัย ราชมณี และครูพิชัย หาวิชิต กำลังช่วยกันก่อสร้าง
|
 |
ร่วมรับประทานอาหารกลางวันกับชาวบ้านที่มาช่วยจัดทำอาคารเรียนชั่วคราว
|
ภาพการสำรวจสถานที่เพื่อเครียมสร้างอาคาร 324 ล
|
 |
คุณครูพิศิษฐ์ ผลาชิตร ดูแลและอำนวยความสะดวกให้ช่างกล้องฝ่ายสำรวจ เพื่อวางผังก่อสร้างอาคารเรียน แบบ 324 ล
|
การก่อสร้างอาคารเรียน 324 ล
|
 |
การก่อสร้างอาคารเรียน 324 ล (3ชั้น 24 ห้อง ใต้ถุนโล่ง)
|
 |
สนามบาสเก็ตบอลที่ก่อสร้างเสร็จใหม่ ๆ
|
 |
อาคาร ค. (โรงฝึกงานอุตสาหกรรม)
|
 |
ภาพอาคาร ก ในปัจจุบัน (๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖)
|
 |
ภาพอาคาร ข. ปัจจุบันเป็นอาคารห้องสมุดโรงเรียน (๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖)
|